บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
ความรู้เชิงคณิตศาสตร์ ⏩ มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
1.ความรู้ทางกายภาพ (Physical Knowledge)
→ เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ความรู้ทางสัมคม (Social Knowledge)
→ เป็นความรู้ที่ได้รับจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น 1 สัปดาห์มี 7 วัน , 1 ปีมี 12 เดือน (จากการกำหนดโดยทั่วโลก)
3.ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ (Logical-mathematic Knowledge)
→ การเข้าใจความสัมพันธ์สิ่งต่างๆจากการสังเกต สำรวจ ทดลอง เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น
4.ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbonic Knowledge)
→ การแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ สามารถสร้างความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจสิ่งนั้นชัดเจน เช่น การนับผลไม้ในตะกร้าและสามารถวาดวงกลมแทนจำนวนได้
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
✪ มาตรฐานเป็นแบบประเมินขั้นต่ำ และใช้ในการประเมินและตัดสินใจ
สาระที่ 1 ➤ จำนวนและการดำเนินการ (มาตรฐาน ค.ป. 1.1) เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมาเป็นตัวกำกับ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
➽ จำนวน -การใช้จำนวนบอกปริมาณได้ -การเปรียบเทียบจำนวน -การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
-การเรียงลำดับจำนวน -การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
➽ การรวมและการแยกกลุ่ม -ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม โดยคำนึงว่าสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและ
สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม
-ความหมายของการจำแนก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่
สาระที่ 2 ➤ การวัด (มาตรฐาน ค.ป. 2.1) เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
➽ ความยาว น้ำหนักและปริมาตร -การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
(ต้องวางไว้ที่จุดเริ่มต้นเดียวกัน)
-การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร / ตวง
➽ เงิน -ชนิดและค่าของเงิน
➽ เวลา - ช่วงเวลาในแต่ละวัน -ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
เพลงซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ
เพลงนกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การแบ่งกลุ่มสามารถแบ่งได้หลายวิธีแล้วแต่การออกแบบ เช่น
นักเรียนทั้งหมด 13 คน
|
|
มา 7 คน
|
ไม่มา 6 คน
|
✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪
|
✪✪✪✪✪✪ |
การประเมินผล
ตนเอง: ตอบคำถามอาจารย์อยู่เสมอ ตั้งใจจดตามที่อาจารย์สอน
อาจารย์: ให้ช่วงเวลาพักเบรกกับนักศึกษา การสอนไม่แน่นและน่าปวดหัวจนเกินไป
สภาพแวดล้อม: โปรเจกเตอร์ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น