Penguin Listening Dancing To Music

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

Project Approach " ในหลวง " แบ่งการดำเนินเป็น 3 ระยะ ได้แก่

➤ ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม โดยได้คำถามที่น่าสนใจคือ "ข้าวสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง"
➤ ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ โดยเด็กๆและครูได้ร่วมทำ "ไข่พระอาทิตย์" กัน
➤ ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับ
                                      จากการทำไข่พระอาทิตย์ นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้วิธีการทำไข่พระอาทิตย์แล้ว ยังใช้หลักการ STEM เข้ามาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ 

 ➽ Science          (วิทยาศาสตร์) 
 ➽ Technology    (เทคโนโลยี)  
 ➽ Engineering   (วิศวกรรมศาสตร์
 ➽ Mathematics  (คณิตศาสตร์)






สื่อนวัตกรรมการสอน

"สื่อที่ไม่พังคือสื่อที่ไม่มีคุณภาพ" ถ้าสื่อชิ้นใดที่เด็กได้เล่นหรือได้จับบ่อย สภาพก้จะขาดชำรุด แต่ถ้าสื่อดูสวยงามอยู่ คือเด็กไม่จับเล่น ไม่น่าสนใจ




แผนการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้ของรัฐบาลและเอกชนมีความแตกต่างกัน มีวิธีการเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกัน แต่เน้นการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเหมือนกัน ครูจะไม่สอนให้เด็กหัดอ่าน หัดเขียน เพราะเด็กจะไม่ได้พัฒการทักษะ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

พี่ๆปฐมวัยชั้นปีที่ 5 ได้ให้ความรู้ที่หลากหลายในการที่จะนำไปเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคตทั้งวิธีเรียนแบบ Project Approach เรียนรู้สื่อนวัตกรรมที่ไว้เสริมประสบการณ์ให้กับเด็กๆ และการจัดแผนการเรียนรู้

การประเมินผล

ตนเอง: มีความสนใจในสิ่งที่พี่ๆชั้นปีที่ 5 นำเสนอ และได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น
อาจารย์: มีการสรุปการนำเสนอของรุ่นพี่อีกที ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
สภาพแวดล้อม: พี่ๆชั้นปีที่ 5 จัดซุ้มการให้ความรู้ได้เป็นระเบียบ แบ่งแยกได้ชัดเจน




          
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

สาระที่ 3เรขาคณิต (มาตรฐาน ค.ป. 3.1) รู้จักคำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
                                 (มาตรฐาน ค.ป. 3.2) จำแนกรูปเรขาคณิต เข้าใจการเปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
➽ ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง -บอกต่ำแหน่งได้
➽ รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ - ทรงกลม สี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอก
                                                  - วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
                                                  - การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต
                                                  - สร้างสรรค์ศิลปะสองมิติและสามมิติ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บล็อกไม้ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สร้างสรรค์งานศิลปะ2มิติ


สาระที่ 4พีชคณิต (มาตรฐาน ค.ป. 4.1) เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
➽ แบบรูปและความสัมพันธ์ -แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

                                       


สาระที่ 5การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (มาตรฐาน ค.ป. 5.1) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
➽ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ -การนำเสนอข้อมูลในแผนภูมิแบบง่าย

                                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แผนภูมิแท่งสำหรับเด็ก

สาระที่ 6ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (มาตรฐาน ค.ป. 6.1) การแก้ปัญหาและใช้เหตุผล สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอเชื่อมโยงความรู้ต่างๆมีความคิดสร้างสรรค์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การสอนบวกเลขและลบเลขโดยใช้ภาพเข้ามาช่วย มีตัวเลขฮินดูอารบิกเป็นตัวบอกปริมาณ


ตัวอย่าง: เด็กอนุบาล 1 ชอบดอกกุหลาบจำนวน 10 คน มากกว่าเด็กอนุบาล 1 ที่ชอบดอกมะลิจำนวน 6 
คน

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ตอบคำถามของอาจารย์
อาจารย์: สอนถึงรายละเอียดได้อย่างเข้าใจ อธิบายได้ชัดเจน
สภาพแวดล้อม: วัสดุเพียงพอต่อการเรียนการสอน

                                   

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้เชิงคณิตศาสตร์ ⏩ มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
 1.ความรู้ทางกายภาพ (Physical  Knowledge)
    → เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ความรู้ทางสัมคม (Social  Knowledge)
    → เป็นความรู้ที่ได้รับจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น 1 สัปดาห์มี 7 วัน , 1 ปีมี 12 เดือน                                                                                                                    (จากการกำหนดโดยทั่วโลก)
3.ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ (Logical-mathematic Knowledge)
    → การเข้าใจความสัมพันธ์สิ่งต่างๆจากการสังเกต สำรวจ ทดลอง เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น
4.ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbonic  Knowledge)
    → การแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ สามารถสร้างความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจสิ่งนั้นชัดเจน เช่น การนับผลไม้ในตะกร้าและสามารถวาดวงกลมแทนจำนวนได้






      




สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
✪ มาตรฐานเป็นแบบประเมินขั้นต่ำ และใช้ในการประเมินและตัดสินใจ
สาระที่ 1จำนวนและการดำเนินการ (มาตรฐาน ค.ป. 1.1) เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมาเป็นตัวกำกับ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
➽ จำนวน  -การใช้จำนวนบอกปริมาณได้     -การเปรียบเทียบจำนวน     -การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
                  -การเรียงลำดับจำนวน                 -การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
➽ การรวมและการแยกกลุ่ม  -ความหมายของการรวม  
                                              -การรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม โดยคำนึงว่าสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและ
                                               สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม
                                              -ความหมายของการจำแนก
                                              -การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่
สาระที่ 2 ➤ การวัด (มาตรฐาน ค.ป. 2.1) เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
➽ ความยาว น้ำหนักและปริมาตร -การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
                                                                                                (ต้องวางไว้ที่จุดเริ่มต้นเดียวกัน)
                                                     -การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
                                                     -การเปรียบเทียบปริมาตร / ตวง
➽ เงิน -ชนิดและค่าของเงิน

➽ เวลา - ช่วงเวลาในแต่ละวัน            -ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

                                                             

เพลงซ้าย-ขวา
      ยืนให้ตัวตรง        ก้มหัวลงตบมือแผละ
       แขนซ้ายอยู่ไหน   หันตัวไปทางนั้นแหละ


เพลงนกกระจิบ
นั่นนก                 บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ          1  2  3  4  5
อีกฝูงบินล่องลอยมา  6  7  8  9  10  ตัว


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การแบ่งกลุ่มสามารถแบ่งได้หลายวิธีแล้วแต่การออกแบบ เช่น 

นักเรียนทั้งหมด 13 คน

     มา   7   คน

  ไม่มา      6    คน
  ✪ ✪  ✪  ✪ ✪ ✪ ✪






✪✪

การประเมินผล

ตนเอง: ตอบคำถามอาจารย์อยู่เสมอ ตั้งใจจดตามที่อาจารย์สอน
อาจารย์: ให้ช่วงเวลาพักเบรกกับนักศึกษา การสอนไม่แน่นและน่าปวดหัวจนเกินไป
สภาพแวดล้อม: โปรเจกเตอร์ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว