Penguin Listening Dancing To Music

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

ความหมายของคณิตศาสตร์
   - วิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนเองแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   - คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาเกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างคนให้มีนิสัยรอบคอบ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ของคณิตสาสตร์
   - ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
   ➤การนับ (Counting)                    ➤ตัวเลข (Number)                     ➤การจับคู่ (Matching) 
   ➤การจัดประเภท (Classification)  ➤การเปรียบเทียบ (Comparing)   ➤การจัดลำดับ (Ordering)
   ➤การวัด(Meusurement)              ➤เศษส่วน (Fraction)                  ➤เซ็ต (Set)
   ➤รูปทรงหรือเนื้อที่ (Shape and Space)           ➤การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
   ➤การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)


เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

 

เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน           มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว          มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า                       นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                      นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้        น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป       นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(นับน้อยลงไปเรื่อยๆ)


เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การสอนแบ่งกลุ่ม เช่น แบ่งเด็กที่ตื่นก่อน 6 โมงเช้ากับตื่นหลัง 6 โมงเช้า โดยใช้ป้ายชื่อที่เด็กได้ออกแบบขึ้นไปแปะตามเวลาตื่นของตนเอง สามารถช่วยสอนเรื่องเวลา การนับจำนวน เอาเรื่องการอนุรักษ์ (conservation) เข้ามาใช้ นอกจากนี้เด็กยังได้พัฒนาสติปัญญาในด้านความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบป้ายชื่อด้วย

การประเมินผล

ตนเอง: ตอบคำถามบางครั้ง ไม่ค่อยตั้งใจฟังอาจารย์ เพราะปวดหัว สมองไม่รับรู้กับการเรียน
อาจารย์: อธิบายได้ชัดเจน
สภาพแวดล้อม: โปรเจคเตอร์ยังไม่นับการปรับปรุง







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

การอนุรักษ์ (Conservation) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว
↳ โดยการนับ
↳ จับคู่ 1 ต่อ 1
↳ เปรียบเทียบรูปทรง
↳ เรียงลำดับ
↳ จับกลุ่ม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คณิตเด็กปฐมวัย
สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องมีความปลอดภัยและเหมาะกับการเรียนรู้

เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ คือ

1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ⏩ ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้โดยผ่านการกระทำ
2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) ⏩ สร้างมโนภาพในใจได้
3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) ⏩ เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

เลฟ ไวก็อตสกี้ (Lev Vygotsky) "เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุน และเพิ่มพัฒนาการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหรือที่เรียกว่า เจตคติ (Internalize)"

- เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มีสมรรถนะ (Competency)
- "นั่งร้าน" (Scaffold) การสนับสนุนของผู้ใหญ่โดยให้การช่วยเหลือกับเด็ก
-ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย


เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


เพลงขวด 5 ใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง 
(ลดจำนวนขวด ลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยูบนกำแพง
    

เพลงเท่ากัน - ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา   ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา     สองขาต่างกัน
ช้างม้า มีขา     สี่ขา เท่ากัน
แต่กับคนนั้น    ไม่เท่ากันเอย


เพลงบวก - ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ            ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การนำทฤษฎีของนักทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็ก

การประเมินผล

ตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา หันไปคุยกับเพื่อนจนบางครั้งไม่สนใจฟังอาจารย์
อาจารย์: คอยกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้
สภาพแวดล้อม: มีอุปกรณ์พร้อมในการเรียนมากขื้น แต่ปรเจ็คเตอร์เอียงทำให้มองจอลำบาก



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

1.การจัดประสบการณ์

2.กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์

3.เด็กปฐมวัย
•ความหมายของพัฒนาการ
พัฒนาการ คือ ความสามารถเด็กที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่ิองโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ

•ความสำคัญของพัฒนาการ
การแสดงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ทำให้จักประสบการณ์ได้เหมาะสม

-ปฐมนิเทศ



เด็กแรกเกิด - 2 ปี  =⇒        พัฒนาการการใช้ประสาทสัมผัส ( Sensorimotor Stage )
                                                                           ↓
 เก็บข้อมูล (ใช้เยอะจะยิ่งมีประสบการณ์)

2- 6 ปี เตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preperational Stage) 
→  2 - 4 ปี พูดเป็นประโยคสั้นๆ ใช้เหตุผลได้ไม่ดี
→  4 - 6 ปี เริ่มใช้เหตุผลได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การรู้พัฒนาการของเด็กทำให้สามารถนำไปจัดประสบการณ์การการเรียนรู้สำหรับเด็กได้ถูกต้องเหมาะสมกับวัย

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ตอบคำถาม เหม่อลอยในบางครั้ง
อาจารย์: อาจารย์พูดเสียงดังฟังชัด คอยกระตุ้นนักศึกษาให้ตอบคำถามอยู่เสมอ
สภาพแวดล้อม:วัสดุอุปกรณ์ยังไม่พร้อมเท่าที่ควร



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

• สังเคราะห์ความหมายของชื่อวิชาร่วมกันภายในห้อง ทำให้เข้าใจถึงรายวิชาที่จะเรียน
•การจัดประสบการณ์จำเป็นต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
•ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คาดหวังภายในวิชานี้
•มาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ สสวท.

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจฟังอาจารย์ มีการตอบคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในห้อง
อาจารย์: อธิบายในสิ่งที่นักศึกษาไม่รู้ได้อย่างเข้าใจ มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด และจะไม่ให้คำตอบกับนักศึกษาทันที แต่จะให้คิดก่อนที่จะเฉลยออกมา
สภาพแวดล้อม: ภายในห้องไม่มีโน้ตบุ๊คและปากกาไวท์บอร์ด ทำให้อาจารย์ผู้สอนสอนได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ