Penguin Listening Dancing To Music

สรุปวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้การละเล่นของเด็กไทย ปริญญานิพนธ์ของต้องใจ คล่องตา (สิงหาคม 2549)

ความมุ่งหมายของวิจัย

      วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ได้รับความสนใจน้อยที่สุด การที่เด็กไม่ชอบอาจเป็นเพราะเด็กมีปัญหาตั้งแต่ระยะเริ่มเรียน เด็กขาดความพร้อมความสนใจในการเรียน ครูจึงต้องเป็นผู้วางแผนในการชักจูงเด็ก หากิจกรรมให้เด็กสนใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  โดยนำไปเชื่อมโยงกับธรรมชาติของเด็กคือ ชอบเล่นและชอบสนุกสนาน ดังนั้นจึงมีความสนใจในการจัดกิจกรรมในรูปแบบของการละเล่นของเด็กไทย เพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้านรวมถึงส่งผลการเรียนคณิตศาสตร์ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น


ตัวแปรที่ศึกษ

  ตัวแปรต้น          ➽          การละเล่นที่ใช้การศึกษาค้นคว้า 10 ชนิด
                               ตัวแปรตาม       ➽          1.เตรียมความพร้อมด้านการสังเกต
                                       2.เตรียมความพร้อมด้านการเปรียบเทียบ
                                      3. เตรียมความพร้อมด้านการเรียงลำดับ

                                                    4. เตรียมความพร้อมด้านการเปรียบเทียบจำนวน

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากร              ➤       นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 ตำบลก้านเหลือง อ.อุทุมพรพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 จำนวน 6 โรงเรียน จำนวน 107 คน
กลุ่มตัวอย่าง        ➤       นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนบ้านกงพาน ตำบลก้านเหลือง อ.อุทุมพรพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง





สรุปผลวิจัย

แผนการจัดประสบการณ์การเตรียมความพื้นฐานพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การละเล่นของเด็กไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 82.77/82.90 และนักเรียนไดรับประสบการณ์ มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.87  รวมถึงมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วย



สรุปวิดีโอการสอนคณิตศาสตร์หรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ (เรียนรู้การนับจำนวน) ชั้นอนุบาล 2

      เด็กอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลทองขาว จังหวัดยโสธร ได้สอนเด็กเกี่ยวกับตัวเลขโดยคุณครูชูแผ่นป้ายขึ้นมา แล้วเด็กจะใช้ไม้ไอศกรีมวางแทนจำนวนเลขฮินดูอารบิกตามจำนวนที่คุณครูชูแผ่นป้ายขึ้นมา การสอนในรูปแบบลักษณะนี้ทำให้เด็กรู้จักจำนวนและการแทนค่าจำนวน นอกจากนี้ยังได้ใช้กล้ามเนื้อมือในการหยิบจับไม้ไอศกรีมที่มีขนาดเล็กอีกด้วย



สรุปบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ

             การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม และสะสมเป็นประสบการณ์ ครูสามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติได้ เช่น การนำใบไม้บริเวณรอบโรงเรียนมานับจำนวน หรือนำกิ่งไม้มาวัดความสั้น-ความยาว เป็นต้น

             นอกจากจะนำวัสดุจากธรรมชาติมาสอนทักษะทางคณิตศาสตร์ได้แล้ว นำไปใช้ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แล้วบูรณาการทางคณิตศาสตร์ก็ย่อมทำได้ จะเห็นได้ว่าคณิตศาสตร์สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันเสมอ ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนอยู่แต่ในห้องเรียน อีกทั้งการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ได้สอนเด็กเกี่ยวกับอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

สืบเนื่องมาจากการทำปฏิทิน ซึ่งในวันนี้ทำในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องและแก้ไขทำให้เสร็จ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็สามารถนำไปใช้ได้จริง

 
จากนั้นก็นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์มา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อสื่อการสอนชิ้นนี้ว่า  "โรงเรียนหรรษา"
ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้คือ  - ฟิวเจอร์บอร์ด   - แกนกระดาษทิชชู่  - กระดาษสีแข็ง  - ฝาขวดน้ำ
                          -กระดาษขาวเทาแข็ง  - แผ่นใส  - เทปกาวหนังไก่

วิธีการทำ 1. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดออกมาแล้วทำเป็นตัวฐาน
             2. พับกล่องที่มีขนาดต่างกัน 5 กล่อง ได้แก่ 2 กล่องใส่ตัวเลขและฝา  2 กล่องนำมาติดเพื่อหยอดฝาลงไป  1 กล่องใส่ผลรวมของฝาที่ไหลลงมาจากกล่องด้านบน
             3. นำกล่องและแกนกระดาษทิชชู่ที่หุ้มกระดาษสีแล้วมาติดเข้ากับฟิวเจอร์บอร์ด
             4. ทำที่ใส่ตัวเลขให้ติดกับตัวกล่องที่พับขึ้นมา โดยใช้เทปกาวหนังไก่และแผ่นใส
             5. ตัดประดาษสีแปะกับกระดาษแข็งทำเป็นหลังคาให้ดูคล้ายกับโรงเรียน

วิธีการเล่น  นำฝาที่มาหยอดใส่กล่องทั้ง 2 ฝั่ง และนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาแทนค่าจำนวนฝาที่หยอดลงไป ฝาจะไหลลงมาที่กล่องใหญ่ นับจำนวนฝาและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก

✫ เด็กจะได้สาระการเรียนรู้เรื่องจำนวน การใช้จำนวนบอกปริมาณและนำฝามาจัดแยกหมวดหมู่โดยการตั้งเกณฑ์ได้ รวมได้สาระการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตได้จากการสอดแทรกจากรูปทรงของตัวกล่องและหลังคาโรงเรียนอีกด้วย ✫

การนำไปประยุกต์ใช้

อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประดิษฐ์สื่อ "โรงเรียนหรรษา" โดยที่เมื่อได้จัดทำสื่อขึ้นมาแล้วควรที่จะทำให้ดีที่สุด และใช้ได้อย่างคุ้มค่า สามารถนำไปสอนได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งเป็นสื่อที่ใช้ในการสอนหรือนำไปตั้งไว้ให้เด็กเล่นก็ได้

การประเมินผล

ตนเอง : ช่วยเพื่อนประดิษฐ์สื่อการสอน และจีดเตรียมมาเป็นอย่างดี
อาจารย์ : ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสื่อแต่ละชิ้นว่าควรทำอย่างไรให้สื่อชิ้นนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สภาพแวดล้อม : เพื่อนๆแต่ละกลุ่มประดิษฐ์สื่ออกมาได้อย่างสร้างสรรค์และน่าสนใจ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสต์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละส่งตัวแทนที่สอนในแต่ละวันออกมาสอน และให้เพื่อนที่อยู่ในห้องแสดงเป็นเด็ก ซึ่งมีหน่วยการสอนในแต่ละวัน ดังนี้

วันจันทร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระเป๋า (ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บ้าน (ลักษณะบ้าน)
วันพุธ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหนะ (การดูแลรักษายานพาหนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระต่าย (ประโยชน์ของกระต่าย) 
วันศุกร์  หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เสื้อ (ข้อพึงระวังของเสื้อ)




กลุ่มของข้าพเจ้าได้สอนในวันอังคาร เรื่องลักษณะของบ้าน

การนำไปประยุกต์ใช้

แผนการสอนของแต่ละกลุ่มมีความหลากหลาย และได้เห็นแนวการสอนของแต่ละกลุ่มที่ลองสอนจริง รวมถึงอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขการสอนให้ดีขึ้นได้

การประเมินผล

ตนเอง : ช่วยเพื่อนจักเตรียมสื่อการสอนที่จะนำมาใช้ในการทดลองสอน
อาจารย์ : แนะแนวทางในการสอนที่สามารถนำไปสอนในอนาคตได้
สภาพแวดล้อม : เพื่อนๆทุกกลุ่มมีการจัดเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี และสามารถนำสิ่งที่อาจารย์สอนมาปรับใช้ในการสอนของกลุ่มตัวเองได้อย่างเหมาะสม




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้นำเสนอสื่อของตนเองที่ได้หามา ร่วมกันวิเคราะห์ว่าสื่อชิ้นนี้เหมาะสมหรือไม่ แต่ละชิ้นมีข้อดี ข้อเสียคืออะไร สามารถนำไปจัดกิจกรรมกับเด็กได้อย่างไร

                                                     

หลังจากที่นำเสนอสื่อครบทุกคนแล้ว อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอบทความ งานวิจัย และวิดีโอเกี่ยวกับสอนคณิตศาสตรืสำหรับเด็กปฐมวัยออกมาเล่าให้เพื่อนฟัง ซึ่งมีเพื่อนคนหนึ่งได้นำเสนอวิดีโอการสอนที่น่าสนใจสำหรับเด็ก คือ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ไม่จำเป็นจะต้องยึดติดอยู่ในห้องเรียน และสามารถนำคณิตศาสตร์ไปสอนได้ทุกที่ทุกเวลา และอาจารย์ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็ก โดยมีคำถามดังนี้

1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า

จากนั้นอาจารย์ก็ดูวิธีการสอนของแต่ละคน และเพิ่มข้อเสนอแนะเพื่อที่จะสามารถนำไปสอนได้จริง

การนำไปประยุกต์ใช้

สื่อคณิตศาสตร์ บทความ งานวิจัย วิดีโอการสอน และการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนในห้องเรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเมื่อเราเป็นครูในอนาคตได้

การประเมินผล

ตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอสื่อ และคิดต่อว่าสามารถนำมาต่อยอดเป็นอย่างไรได้บ้าง
อาจารย์ : เปิดโอกาสให้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อของเพื่อนหรือการตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์
สภาพแวดล้อม : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนคนอื่น





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจาย์แนะนำเกมการศึกษาที่สามารถนำจากแบบฝึกหัดแล้วทำขึ้นมาให้เป็นเกมที่สามารถจับต้องได้ เช่น
 เกมจับคู่
   - จับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
   - จับคู่ประเภทเดียวกัน
   - จับคู่ภาพเงา

                                  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมส์จับคู่ปฐมวัย

• เกมภาพตัดต่อ เกี่ยวกับ คน สัตว์ ผัก ผลไม้ ตัวเลข เป็นต้น

                                  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมภาพตัดต่อปฐมวัย

• เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน)

                                ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมส์จับคู่ปฐมวัย

เกมลอตตโต

                             *Free Kindergarten winter shape practice with this graphing and coloring activity. Other printables too.:

การนำไปประยุกต์ใช้

นำเกมการศึกษาในรูปแบบต่างๆมาประยุกต์เป็นคณิตศาสตร์ และนำแนวคิดจากแบบฝึกหัดนำมาทำเป็นสื่อที่สามารถจับต้องได้ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้มากกว่าแบบฝึกหัด

การประเมินผล

ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายสื่อคณิตศาตรื แล้วคิดว่าสื่อที่อาจารย์นำมานำเสนอมีความน่าสนใจ
อาจารย์ : อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเกมคณิตศาสตร์ให้อย่างเข้าใจ และแนะนำอุปกรณ์วิธีการทำ
สภาพแวดล้อม: มีเพื่อนมาเรียนค่อนข้างน้อย







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวัย

➤ ด้านร่างกาย - กล้ามเนื่อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่  การเคลื่อนไหวและมีสุขภาพที่ดี
➤ ด้านอารมณ์ - รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น แสดงออกทางอารมณ์ได้
➤ ด้านสังคม - การช่วยเหลือตนเองได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ มีคุณธรรมและจริยธรรม
➤ ด้านสติปัญญา - ภาษา (ฟัง พูด อ่าน เขียน) คิด (สร้างสรรค์และมีเหตุผล)

สาระที่เด็กควรเรียนรู้ : ประสบการณ์ที่สำคัญ
                                    สาระที่ควรเรียนรู้ (เนื้อหา) - ตัวเรา
                                                                             - บุคคล สถานที่
                                                                             - ธรรมชาติ
                                                                             - สิ่งแวดล้อม

✪ โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องที่เด็กสนใจ เรื่องที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก และเรื่องที่สำคัญกับเด็ก ✪

การนำไปประยุกต์ใช้

การจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมได้จะต้องมีการวางแผน เขียนแผนก่อนที่จะนำไปจัดประสบการณ์ให้เด็ก จึงจำเป็นต้องรู้สาระที่เด็กควรเรียนรู้และต้องส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อวางรากฐานให้เด็กเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ในอนาคต

การประเมินผล

ตนเอง : ตั้งใจฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นบางในบางครั้ง
อาจารย์ : ตอบคำถามและไขข้อสงสัยให้นักศึกษาได้เป็นอย่างดี
สภาพแวดล้อม : เมื่ออาจารย์อธิบายแล้ว มีเพื่อนบางคนไม่สนใจฟัง



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560


♪ ♫ เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดภารกิจจึงให้ทำบอร์ดอยู่ในห้อง ♪ ♬




















บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์แจกกระดาษให้ปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปทรงต่างๆในลักษณะ 2 มิติ

                  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรขาคณิต 2 มิติ

จากนั้นให้ทำเป็นรูป 3 มิติ แล้วนำรูปของตนเองไปประกอบกับเพื่อนอีก 1 คน แล้วสร้างขึ้นมาเป็นรูปทรงใหม่ จากนั้นนำไปวางไว้หน้าชั้นเรียน เพื่อวิเคราะห์การนับ การแทนตัวเลข เรขาคณิต แต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร สำรวจความชอบของเด็กว่าชอบรูปเรขาคณิตแบบใดมากกว่ากัน


                                    

     
                          
                                  การวิเคราะห์


                           
                                       การสังเคราะห์
การนำไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนสามรถนำไปปรับประยุกต์ใช้เมื่อไปสอนเด็กได้ เด็กจไ้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต นอกจากนี้ยังมีเกี่ยวกับการสังเกต การเปรียบเทียบ ความเหมือนความต่าง รวมทั้งการนับและการแทนค่าด้วย

การประเมินผล

ตนเอง: ชอบการทำกิจกรรมภายในห้อง มากกว่าการเรียนเนื้อหาเยอะๆ
อาจารย์: หากิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ลองคิด ลองลงมือทำอยู่ตลอด
สิ่งแวดล้อม: อุปกรณ์สื่อมีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี



















บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ



           
         

การคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งสอดคล้องกับสาระที่ 4 มาตรฐาน ค.ป. 4.1
















การนับจำนวนลูกอมและใช้ตัวเลขเป็นตัวกำกับ สอดคล้องกับสาระที่ 1 มาตรฐาน ค.ป. 1.1






                                                                         

 ใช้เกณฑ์ในการแบ่งจำนวน เช่น ในรูปมีกระดุมอยู่ 9 เม็ด จะใช้เกณฑ์ว่ากระดุมที่มีสีขาวกับกระดุมที่ไม่มีสีขาวแบบไหนมีเยอะกว่ากัน เด็กจะสั่งเกตและนับจำนวนว่าแบบใดมีเยอะกว่ากัน และจะตอบได้ว่า กระดุมที่มีสีขาวมีจำนวนมากกว่ากระดุมที่ไม่มีสีขาวอยู่จำนวน 3 เม็ด


ยางลบ 3 สี สามารถบอกได้ว่ายางลบสีเขียวมีจำนวนน้อยที่สุด ยางลบสีฟ้ามีจำนวนมากกว่ายางลบสีเขียวแต่น้อยกว่ายางลบสีชมพู ยางลบสีชมพูมีจำนวนมากที่สุด

กำลังแสดง IMG_8531.JPG

สื่อควรที่จะใช้ได้หลายครั้ง และมีความทนทาน

กำลังแสดง IMG_8532.JPG

ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มตนเอง โดยแบ่งออกเป็นการสอน 5 วัน โดยกำหนดหัวเรื่องให้สอดคล้องกับตัวเด็กเอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ และต้องคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ รวมถึงให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วย

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจเรียนบางครั้งมีเหม่อลอยและรู้สึกเบื่อ แต่คอยตอบคำถามของอาจารย์อยู่เสมอ
เพื่อน: ตอบคำถามของอาจารย์ แม้บางคนจะรู้สึกเบื่อหรือง่วง
อาจารย์: มีเทคนิคในการสอนแบบใหม่






สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



อุปกรณ์

1. กระดาษแข็ง                2. จานกระดาษ           3. กระดาษสา
4. ไหมพรม 2 สี                      5. กรรไกร                   6. กาว
7. ปากกาหมึกดำ

วิธีทำ

1. นำจานกระดาษมาวาดให้เป็นส่วนของใบไม้ที่อยู่บนลำต้น ระบายสีเขียว แล้วตัดให้เป็นรูปทรง
2. นำกระดาษสามาวาดให้เป็นตัวส่วนของลำต้น ระบายสีน้ำตาล แล้วตัดให้เป็นรูปทรง
3. นำส่วนของใบไม้และลำต้นมาทากาวติดกัน
4. ออกแบบรูปทรงลูกเต๋าบนกระดาษแข็ง ตัดออกมาและพับให้เป็นลูกเต๋า 6 ด้าน 
5. เจาะช่องระหว่างลำต้นสามช่องให้พอดีกับขนาดของลูกเต๋า
6. นำเศษกระดาษแข็งที่เหลือจากการทำลูกเต๋ามาตัดให้เป็นแผ่นยาวทรงไม้บรรทัด เขียนเลข 2-12 ลงไปด้วยปากกาหมึกดำ
7. นำไหมพรมมาตัดให้เป็นปอมปอมกลมขนาดเล็กจำนวนสีละ 10 ลูก
8. นำไปทดลองใช้จริง

พัฒนาการเด็ก  ⇒ 1. ได้เรียนรู้เรื่องจำนวน สามารถบอกปริมาณได้ 
                         2. รู้จักการรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม
                  ด 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

Project Approach " ในหลวง " แบ่งการดำเนินเป็น 3 ระยะ ได้แก่

➤ ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม โดยได้คำถามที่น่าสนใจคือ "ข้าวสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง"
➤ ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ โดยเด็กๆและครูได้ร่วมทำ "ไข่พระอาทิตย์" กัน
➤ ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับ
                                      จากการทำไข่พระอาทิตย์ นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้วิธีการทำไข่พระอาทิตย์แล้ว ยังใช้หลักการ STEM เข้ามาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ 

 ➽ Science          (วิทยาศาสตร์) 
 ➽ Technology    (เทคโนโลยี)  
 ➽ Engineering   (วิศวกรรมศาสตร์
 ➽ Mathematics  (คณิตศาสตร์)






สื่อนวัตกรรมการสอน

"สื่อที่ไม่พังคือสื่อที่ไม่มีคุณภาพ" ถ้าสื่อชิ้นใดที่เด็กได้เล่นหรือได้จับบ่อย สภาพก้จะขาดชำรุด แต่ถ้าสื่อดูสวยงามอยู่ คือเด็กไม่จับเล่น ไม่น่าสนใจ




แผนการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้ของรัฐบาลและเอกชนมีความแตกต่างกัน มีวิธีการเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกัน แต่เน้นการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเหมือนกัน ครูจะไม่สอนให้เด็กหัดอ่าน หัดเขียน เพราะเด็กจะไม่ได้พัฒการทักษะ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

พี่ๆปฐมวัยชั้นปีที่ 5 ได้ให้ความรู้ที่หลากหลายในการที่จะนำไปเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคตทั้งวิธีเรียนแบบ Project Approach เรียนรู้สื่อนวัตกรรมที่ไว้เสริมประสบการณ์ให้กับเด็กๆ และการจัดแผนการเรียนรู้

การประเมินผล

ตนเอง: มีความสนใจในสิ่งที่พี่ๆชั้นปีที่ 5 นำเสนอ และได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น
อาจารย์: มีการสรุปการนำเสนอของรุ่นพี่อีกที ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
สภาพแวดล้อม: พี่ๆชั้นปีที่ 5 จัดซุ้มการให้ความรู้ได้เป็นระเบียบ แบ่งแยกได้ชัดเจน